ระบบพื้นที่ใช้ทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

ระบบพื้นโรงงานในปัจจุบันนั้นมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Coating และ Non-Coating

ระบบพื้นโรงงานแบบ Coating หรือที่เรียกว่าระบบงานเคลือบพื้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุ epoxy , pu

ในงานเคลือบพื้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามความหนา คือ แบบ coating ความหนาระดับ micron (แบบบาง) ผิวสัมผัสจะเป็นเหมือนผิวเปลือกส้ม และ แบบ Self-leveling (แบบหนา) ที่มีความหนา 1 มม.ขึ้นไป พื้นโรงงานระบบ coating นี้เป็นที่แพร่หลายโดยทั่วไป เพราะ มีสีสันที่เลือกได้ และได้สีสม่ำเสมอทั้งผืน และทนกรด-ด่าง แต่จุดอ่อนก็คือเรื่องความทนทาน การใช้งานที่มีโอกาสหลุดร่อนจากการใช้งาานหนัก หลุดร่อนจากความชื้น หรือการติดตั้งพื้นโรงงานที่ไม่ได้มาตราฐาน รวมไปถึงผิวหน้าที่ไม่ทน เป็นรอยง่าย ไม่ทนการลาก การขูดขีด โดยเฉพาะรอยล้อรถโฟล์คลิฟท์ จึงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระยะยาว

*** ระบบงานพื้นโรงงานแบบ Coating นี้จะมี 2 Layer ขึ้นไปจาก Base Concrete เมื่อเป็นงานเคลือบจึงมีโอกาสที่ระหว่างชั้น Layer นั้นจะร่อนได้

ระบบพื้นโรงงานแบบ Non-Coating หรือระบบพื้นโรงงานที่ไม่ได้เคลือบ ได้แก่ พื้นขัดมันธรรมดา , พื้นฟลอร์ฮาร์ดเดนเนอร์ , พื้น CrystalFLoor

ระบบงานพื้นโรงงานแบบไม่ได้เคลือบเหมาะกันการใช้งานที่ต้องการความทนทาน โดยมุ่งเน้นไปที่การทำผิวหน้าคอนกรีตเดิมให้เรียบมากขึ้น โดยพื้นฐานนั้นเริ่มตั้งแต่เป็นประเภทขัดมันธรรมดา คือการแต่งผิวหน้าคอนกรีตในขณะกำลังเซ็ตตัว และหากต้องการพื้นโรงงานที่มีความแข็งแรงมากขึ้นหรือต้องการสี ก็นิยมทำพื้นโรงงานโดยการโรยผงฟลอร์ฮาร์ดเดนเนอร์ในขณะขัดมัน

แต่ปัญหาของพื้นโรงงานแบบขัดมันธรรมดา และ พื้นฟลอร์ฮาร์ดเดนเนอร์ คือการที่พื้นยังมี Cement Paste อยู่ (Cement paste คือส่วนของผิวหน้าคอนกรีตที่ไม่แข็งแรงอาจเกิดจากขั้นตอนการขัดแต่งผิวหน้า หรือ มีการเติมน้ำในขึ้นตอนเทคอนกรีต) ส่งผลให้ผิวหน้าสูญเสีย Strength ความหนาแน่น หรือความแข็งแรงไป ส่งผลให้ใช้งานนานไปอาจแปรสภาพกลายเป็นฝุ่นได้ อีกปัญหาของพื้นโรงงาน ที่ใช้ระบบขัดมัน และ พื้นฟลอร์ฮาร์ดเดนเนอร์ คือ ผิวหน้าอาจไม่เรียบเท่าที่ควร ส่งผลให้ทำความสะอาดยากในระยะยาวไม่สามารถดันฝุ่นได้ง่าย

ระบบพื้นโรงงาน CrystalFloor หรือ Polised Concrete เป็นแบบ Non-Coating 

พื้นโรงงาน crytalfloor
พื้นโรงงาน crytalfloor

คือระบบพื้นที่สามารถทำได้ดีในด้านของความแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดด้วยการดันฝุ่นได้ง่ายๆ และยังให้ความเงางาม ระบบพื้น CrystalFloor เป็นการทำงานที่มีขั้นตอนต่อจากระบบพื้นขัดมันที่เซ็ตตัวจนได้ Strength ของคอนกรีตแล้ว  ในขั้นตอนแรกของการทำพื้นโรงงานระบบ CrystalFloor คือการ Griding นั้นเพื่อนำ Cement Paste หรือส่วนที่ไม่แข็งแรงออก ด้วยใบขัดผสมเพ็ชรสังเคราะห์ จากนั้น หนึ่งในขั้นตอนได้มีการลงน้ำยา Crystal Li เพื่อทำปฎิกริยา Crystallization หรือการสร้างผลึกที่ผิวหน้าคอนกรีตทำให้เกิดความหนาแน่นสูงสุดเท่าที่ผิวหน้าคอนกรีตนั้นจะเป็นได้(เป็นน้ำยาที่ซึมไปในผิวหน้าคอนกรีต ไม่ใช่การเคลือบ) และ ขั้นตอนการไล่ใบผสมเพ็ชร ขัดตั้งเบอร์หยาบไปละเอียดสุด เพื่อให้ได้พื่นที่มีสัมผัสเรียบที่สุด ทำความสะอาดด้วยการดันฝุ่นได้ง่ายๆ ความเงาจากการขัดจึงไม่ลื่น (ไม่เหมือนงานเคลือบ Wax แบบพื้นหินขัด) ในส่วนของเครื่องขัดพื้นในการทำงานเราคำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ แก้ปัญหาเรื่องฝุ่นที่เกิดจากการทำงานเรามีเครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่ที่คิดค้นขึ้นเองเพื่อสำหรับงานขัดพื้น CrystalFloor เมื่อทำเสร็จสามารถใช้งานพื้นที่ได้เลย จึงสามารถทำงานได้ทั้งพื้นโรงงานก่อสร้างใหม่ และปรับปรุงซ่อมบำรุงพื้นโรงงานที่หน้างานมีการดำเนินงานแล้ว CrystalFloor จึงเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับพื้นโรงงาน

*** ระบบงานพื้นโรงงานแบบ Non-Coating ไม่มี Layer เพิ่มขึ้นมา เมื่อไม่ได้เคลือบจึงไม่มีโอกาสร่อนในระยะยาว

Writer : Nathapush Jirachotithapanon

นวัตกรรมพื้นคอนกรีตขัดเงา

ถ้าท่านกำลังมองหาระบบพื้นโรงงาน ที่สามารถคงสภาพ และทำความสะอาดได้ง่ายๆ ถึง 10 ปี เราขอแนะนำ พื้น CrystalFloor

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามความต้องการงานพื้นของท่าน

Line : @repfloor

บจก.เรพฟลอร์ ยินดีให้บริการ

สอบถามผู้เชี่ยวชาญ